ปลาแซลมอน จัดเป็นอาหารโปรดของหลาย ๆ คน ด้วยรสชาติที่อร่อย สามารถทำอาหารได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งทานสด หรือปรุงสุก และประเทศไทยจัดได้ว่ามีการบริโภคปลาแซลมอนมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งประเทศไทยมีการนำเข้าปลาแซลมอนจากหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และ นอร์เวย์ ช่องทางการขนส่งคือ ทางเรือ หรือทางเครื่องบิน แต่ส่วนใหญ่ขนส่งทางเครื่องบินเพราะต้องการความสดของปลาแซลมอน
หากต้องการนำเข้าปลาแซลมอนมาดูกันว่า การนำเข้าปลาแซลมอน จะต้องมีการเตรียมเอกสารอย่างไรบ้าง
เอกสารจำเป็นในการนำเข้า ปลาแซลมอนทั้งตัว แบบสดหรือแบบแช่แข็ง
1. เอกสารจากต้นทาง : ผู้ส่งออกที่ประเทศต้นทางจะต้องจัดเตรียมเอกสารไว้ให้กับผู้นำเข้าดังนี้
– Health Certificate / กรณีประเทศต้นทางคือ ญี่ปุ่น จะใช้ Export permit แทน Health Certificate
– Commercial Invoice และ Packing list
2. เอกสารที่ผู้นำเข้าจะต้องจัดเตรียม
– ใบอนุญาตนำเข้าอาหารเข้ามาในราชอณาจักร (อ.7) หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ อย.
– ใบอนุญาตนำเข้าจากกรมประมง
เอกสารจำเป็นในการนำเข้า ชิ้นปลาแซลมอน แบบสดหรือแบบแช่แข็ง
1. เอกสารจากต้นทาง : ผู้ส่งออกที่ประเทศต้นทางจะต้องจัดเตรียมเอกสารไว้ให้กับผู้นำเข้าดังนี้
– Health Certificate / กรณีประเทศต้นทางคือ ญี่ปุ่น จะใช้ Export permit แทน Health Certificate
– GMP (เอกสารรับรองมาตรฐานการผลิต)
– Form FTA (กรณีเป็นประเทศที่มีข้อตกลงด้านสิทธิพิเศษทางภาษีกับประเทศไทย)
– Commercial Invoice และ Packing list
2. เอกสารที่ผู้นำเข้าจะต้องจัดเตรียม
– ใบอนุญาตนำเข้าอาหารเข้ามาในราชอณาจักร (อ.7) หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ อย.
– ใบอนุญาตนำเข้าจากกรมประมง
– เอกสาร LPI จาก อย.
จากข้อมูลข้างต้นจะสังเกตว่า การนำเข้าปลาแซลมอนทั้งตัวแตกต่างจากการนำเข้าแบบเป็นชิ้น เนื่องจากการนำเข้าแบบชิ้นต้องมีการแปรรูปจึงต้องมีเอกสารรับรองมาตรฐานการผลิตด้วยครับ และการนำเข้าปลาแซลมอนทั้งตัวจะไม่เสียภาษีนำเข้าเลย แต่การนำเข้าชิ้นปลาแซลมอนจะต้องเสียภาษีอากรให้กรมศุลฯ 5 % ครับ
กลุ่มบริษัทของเราให้บริการเคลียร์สินค้าอาหารทะเลสด-แช่แข็ง ผ่านพิธีการศุลกากร
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
You must be logged in to post a comment.