เรื่องค่าเงินนั้น คงเคยคุ้นหูคุ้นตากันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นในช่วงข่าวเศรษฐกิจ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่า หรือวันนี้ค่าเงินบาทแข็ง
ค่า เมื่อเราเข้าธนาคารที่มีหน้าจอแสดงค่าเงินให้เราเห็นว่าวันนี้ เวลานี้ค่าเงินบาทของเราเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นๆ อยู่ที่เท่าไหร่ หรือแม้แต่เว็บไซต์ หลายๆเว็บก็ มีพื้นที่ส่วนแสดงราคาน้ำมันและแสดงค่าเงินบาท แต่เคยสงสัยไหมว่าค่าเงินบาทกับค่าเงินต่างประเทศทำไมไม่เท่ากัน แล้วค่าเงินบาทที่อ่อนค่าหรือแข็งค่านี้ ส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้าส่งออกอย่างไรบ้าง
ค่าเงินบาท คืออะไร ? คือจำนวนเงินบาทเมื่อแลกกับการเงินต่างประเทศสกุลอื่นๆ เช่นเงินดอลล่าร์สหรัฐ เงินยูโร เงินเยนญี่ปุ่น เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ โดยวันและเวลานั้นๆ เงินบาทของเราต้องใช้จำนวนเท่าไหร่ เพื่อแลกกับ เงิน 1 ดอลล่าร์สหรัฐ
ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าหรือแข็งค่านี้ ส่งผลกระทบต่อผู้นำเข้าส่งออกอย่างไรบ้าง
ค่าเงินที่มีการปรับตัวอยุ่ตลอดเวลานั้นย่อมส่งผลด้านบวกและด้านลบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า ฝ่ายไหนเสียประโยชน์ และฝ่ายไหนได้ประโยชน์
1.ค่าเงินบาทแข็งค่า คือ ค่าเงินสกุลหนึ่งมีค่า มากขึ้น เมื่อเทียบกับค่าเงินอีกสกุลหนึ่ง เช่น
เมื่อวาน 35 THB = 1 USD
วันนี้ 34 THB = 1 USD
แบบนี้เรียกว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะจะส่งผลให้ใช้เงินบาทจำนวนน้อยลงในการแลกกับ 1 USD
เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลต่อ ผู้ส่งออก อย่างไร ?
ยกตัวอย่าง
- เมื่อวาน ผู้ส่งออกขายสินค้าให้กับลูกค้าที่อเมริกาหนึ่งชิ้น ราคา 1 USD เมื่อขายได้แล้วก็นำมาแลกเป็นเงินไทยได้ 35 บาท
- วันนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ ผู้ส่งออกขายสินค้าให้ักับลูกค้ารายเดิมราคาเท่าเดิมคือ หนึ่งชิ้น ราคา 1 USD เมื่อขายได้แล้วก็นำมาแลกเป็นเงินไทยได้ 34 บาท
แสดงว่า เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ผู้ส่งออกจะขายสินค้าได้กำไรลดลง
เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลต่อ ผู้นำเข้า อย่างไร ?
ยกตัวอย่าง
- เมื่อวาน ผู้นำเข้า ซื้อสินค้าจากอเมริกาหนึ่งชิ้น ในราคา 1 USD จึ่งต้องใช้เงินบาทในการแลกเป็นเงินดอลล่าร์ อยู่ที่ 35 บาท
- วันนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ผู้นำเข้า จะซื้อสินค้าจากอเมริกา ในราคา 1 USD จะต้องใช้เงินบาทในการแลกเป็นเงินดอลล่าร์ อยู่ที่ 34 บาท
แสดงว่า เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ผู้นำเข้ามีต้นทุนต่ำลงในการ ซื้อสินค้า
สรุป เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ผู้ส่งออกมักจะไม่ค่อยแฮปปี้เพราะได้กำไรลดลง แต่ผู้นำเข้าอาจจะแฮปปี้ เพราะต้นทุนในการนำเข้าลดลง
2.ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง คือ ค่าเงินสกุลหนึ่งมีค่า ลดลง เมื่อเทียบกับค่าเงินอีกสกุลหนึ่ง เช่น
เมื่อวาน 35 THB = 1 USD
วันนี้ 36 THB = 1 USD
แบบนี้เรียกว่า ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง เพราะจะส่งผลให้ใช้เงินบาทจำนวนมากขึ้นในการแลกกับ 1 USD
เมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ส่งผลต่อ ผู้ส่งออก อย่างไร ?
ยกตัวอย่าง
- เมื่อวาน ผู้ส่งออกขายสินค้าให้กับลูกค้าที่อเมริกาหนึ่งชิ้นราคา 1 USD เมื่อขายได้แล้วนำเงินมาแลกเป็นเงินไทยได้ 35 บาท
- วันนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทีบบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ ผู้ส่งออกขายสินค้าให้กับลูกค้ารายเดิมราคาสินค้าเท่าเดิม คือหนึ่งชิ้น เท่ากับ 1 USD เมื่อขายได้แล้วนำเงินมาแลกเป็นเงินไทย ได้ 36 บาท
แสดงว่า เมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ผู้ส่งออกจะขายสินค้ามีกำไรเพิ่มมากขึ้น
เมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ส่งผลต่อ ผู้นำเข้า อย่างไร ?
ยกตัวอย่าง
- เมื่อวาน ผู้นำเข้าซื้อสินค้าจากอเมริกาหนึ่งชิ้นราคา 1 USD จึ่งต้องใช้เงินบาทในการแลกเป็นเงินดอลล่าร์ อยู่ที่ 35 บาท
- วันนี้ ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ผู้นำเข้าซื้อสินค้าจากอเมริการาคาเท่าเดิมคือหนึ่งชิ้นเท่ากับ 1 USD แต่ผู้นำเข้าจะต้องใช้เงินบาทในการแลกเป็นเงินดอลล่าร์เพิ่มขึ้น อยู่ที่ 36 บาท
แสดงว่า เมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ผู้นำเข้าจะต้องใช้ต้นทุนเพิ่มขึ้นในการซื้อสินค้า
สรุป เมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ผู้ส่งออกอาจจะแฮปปี้ เพราะว่า ได้กำไรเพิ่มขึ้น แต่ผู้นำเข้าอาจไม่ค่อยแฮปปี้ เพราะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้น
ดังนั้นเรื่องค่าเงินบาทมีการปรับตัวขึ้นลง จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้นำเข้าส่งออกต้องต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ต้นทุนหรือกำไรของธุรกิจอีกด้วย
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ เชิญแอดมาคุยกับเราได้นะครับ
ถ้าต้องการปรึกษาปัญหาเรืองนำเข้า หรือ ว่า ส่งออก สามารถ ปรึกษาเราได้โดยตรงเลยครับ
ติดขัดปัญหาสามารถติดต่อเราได้ทันที
จันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 Tel: 02 712 0967
เสาร์-อาทิตย์ Online Service Facebook/cpo2000
You must be logged in to post a comment.