วันนี้แอดมินจะมาว่ากันในเรื่องของคู่มือในการนำเข้าสินค้าสำหรับผู้ที่จะสนใจจะเป็นผู้นำเข้า หรือผู้ที่กำลังหาทางจะนำเข้าสินค้าเพื่อมาทำตลาดในประเทศไทยกันครับ
ผมมั่นใจว่าคนส่วนใหญ่ที่จะผันตัวเองมาเป็นผู้นำเข้ารายใหม่ๆนั้น ต้องเคยเดินทางไปต่างประเทศเพื่อดูงานแฟร์ หรือท่องเที่ยวไปในต่างประเทศแล้วเจอสินค้าที่น่าสนใจ และมองเห็นความสามารถในการทำตลาดกับสินค้านั้นๆ แต่ไม่รู้จะนำเข้ายังไง เสียภาษีเท่าไหร่ ราคาคิดยังไง Term คืออะไร แล้วควรจะเริ่มจากอะไร คำถามดูมากมาย ทำไมขั้นตอนมันดูยุ่งยาก อาจจะทำให้ท้อแท้และเลิกล้มความตั้งใจไปเลยก็ได้
มาครับ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
1. Shipper หรือ คู่ค้า
เราควรจะต้องรู้ก่อนครับว่าคู่ค้าของเราจริงๆคือใคร ทำไมผมถึงพูดเช่นนั้น ? เวลาเราไปดูงานแฟร์ที่เมืองจีน คนที่มาเปิดบูธ ตั้งโชว์สินคานั้นมีทั้ง คนกลาง, นายหน้า หรือ โรงงานมาเอง ซึ่งถ้าเราดีลที่มาจากโรงงานเองเลยอาจจะได้ราคาที่ถูกที่สุด แต่อาจจะต้องซื้อในจำนวนที่มาก เพราะโรงงานต้องการขายสินค้าเป็นล็อตใหญ่ๆ บางทีการซื้อผ่านคนกลางอาจจะคุ้มค่ากว่า เพราะคนกลางจะไปทำการลงทุนซื้อสินค้าล็อตใหญ่ๆมา แล้วมาแบ่งขายให้กับลูกค้ารายเล็กๆที่สนใจในสินค้านั้นๆ ซึ่งดีในแง่ของการซื้อจากคนกลางนั้น ไม่ต้อง stock สินค้าที่มากจนเกินไป แต่ราคาอาจจะสูงกว่าการที่ซื้อผ่านโรงงานโดยตรง คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับการคำนวณของแต่ละท่านละครับว่าท่านจะตัดสินใจอย่างไร
2. Term ของการขนส่งสินค้า
Term ในการซื้อขายมีมากมายหลาย Term ครับ แต่ Term หลักๆนั้นมีอยู่ 3 Term ครับ ซึ่งเราจะเจอบ่อยมากในการซื้อขาย นั่นก็คือ CIF, FOB และ EXWORK
ในส่วนของ Term นั้น สามารถตามอ่านได้จาก Link นี้ครับ เทอม EXW, Ex-work สำหรับการนำเข้า , เทอม FOB สำหรับการนำเข้า
3. ราคาค่าขนส่งสินค้า
ราคาค่าขนส่งสินค้านั้นๆขึ้นอยู่กับปริมาณ, น้ำหนัก, Term ซื้อขาย, ประเทศที่ถูกส่งออกมา และประเภทของการขนส่ง (Air, Sea and Truck) ครับ
3.1) ขนส่งทางเรือ การขนส่งทางเรือเป็นการขนส่งที่ถูกที่สุดครับ แต่ระยะเวลาที่ใช้ก็จะนานที่สุดเช่นกันครับ โดยจะแบ่งเป็น LCL (Less Container Load) กับ FCL (Full Container Load) ครับ
3.1.1) LCL : จะใช้กับการขนส่งสินค้าที่มีปริมาณที่ไม่เยอะมาก และสินค้าที่ขนาดของไซส์ของสินค้าไม่กว้างหรือยาวเกินกว่าตู้คอนเทนเนอร์ เพราะสินค้าที่มาแบบ LCL จะเป็นสินค้าที่มาจากหลากหลายที่ เพื่อมารวมกันใส่ลงไปใน 1 ตู้ตอนเทนเนอร์ครับ ซึ่งการคิดขั้นต่ำของ LCL คือ 1 cbm มาจาก ขนาดของกล่องสินค้าที่มีขนาด กxยxส (1 ม.x 1ม. x 1ม.) = 1 cbm
3.1.2) FCL : จะใช้สำหรับการขนส่งที่มีปริมาณมากๆเช่นสินค้ามาทั้งตู้ หรือสินค้าที่จำนวนไม่มากแต่ขนาดของสินค้าใหญ่มาก เช่น เครื่องจักร โมลด์
3.2) การขนส่งทางรถ เป็นการขนส่งที่มีระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้นกว่าทางเรือ และยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าทางเรือ ประเทศไทย ณ ปัจจุบัน เป็น HUB ของการกระจายสินค้าออกไปยัง ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา สิงคโร์ มาเลเซีย และ ณ ปัจจุบันมีรถวิ่งตรงจากไทยไปจีนได้ในระยะเวลา 5-7 วัน และ การขนส่งทางรถได้รับความนิยมอย่างมากในการขนสินค้าจากจีนกลับมาไทยครับ โดยเฉพาะ จากกวางโจว หรือ อู่ฮั่น สินค้าที่ขนกลับมานั้น มีมากมายหลากหลายครับ
3.3) ขนส่งทางเครื่องบิน จะเป็นการขนส่งที่เร็วที่สุด แต่ค่าใช้จ่ายก็จะสูงมากเช่นกัน เหมาะสำหรับ สินค้าที่จำเป็นต้องใช้แบบเร่งด่วน หรือสินค้าที่เสียง่าย เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ หรือแม้กระทั่งสัตว์น้ำ เช่นปลา ไรน้ำ เป็นต้น ก็ยังใช้การขนส่งทางเครื่องบินเป็นหลักครับ
***ยังไม่จบนะครับมีต่อ PART 2 เกี่ยวกับเรื่อง “นำเข้าอย่างไร ติดต่อใคร เสียภาษีและเคลียร์สินค้าอย่างไร” ติดตามกันต่อนะครับ***
ถ้าต้องการปรึกษาปัญหาเรื่องนำเข้าหรือส่งออก สามารถปรึกษาเราได้โดยตรงเลยครับ
ติดขัดปัญหาสามารถติดต่อเราได้ทันที
จันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 Tel: 02 712 0967
เสาร์-อาทิตย์ Online Service Facebook/cpo2000